เป็นอีกหนึ่งอดีตดาราดัง ที่หายหน้าหายตาไปนาน สำหรับ ทุ้ง ธนิต พงษ์มนูญ ที่ได้มีการเปิดเผยว่ามีอาการป่วยหลายโรครุมเร้า ปัจจุบันเหมือนจะทรุดลงกว่าเดิม โดยทาง บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้เข้าช่วยเหลือส่งตัวเข้าพักที่ บ้านสุขสุดท้าย แล้ว ล่าสุด (6 ธ.ค. 2567)

เพจเฟซบุ๊ก ดาราภาพยนตร์ ได้เปิดเผยว่า “#น้ำใจคนบันเทิงไม่เคยแห้งหาย #ฮีโร่คนบันเทิง #บิณฑ์บรรลือฤทธิ์ มอบ ผจก.ส่วนตัวเข้าช่วยเหลือ #ธนิตพงษ์มนูญ นำตัวมาอยู่ #บ้านสุขสุดท้าย อดีตนักแสดงชื่อดัง ทุ้ง ธนิต พงษ์มนูญ ป่วยหนักด้วยอาการท่อปัสสาวะอุดตันและ

ต่อมลูกหมากโต และมีอาการป่วยแทรกซ้อนอีกหลายโรค รวมถึง หัวใจเต้นผิดปกติ และมีน้ำในปอด รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลวชิระ ซึ่งเมื่อ 17 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา #มูลนิธิสวัสดิการนักแสดง ได้มอบหมายให้กรรมการบริหารมูลนิธิฯ พี่หน่อย ณัฐนี สิทธิสมาน เป็นตัวแทนมูลนิธิฯ

มอบเงินสดจำนวน 15,000 บาท ให้เจ้าตัวและลูกชาย เพื่อช่วยเหลือเป็นค่ารักษา และมีเพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการบันเทิงให้ความช่วยเหลือ อาทิ ป๊อบ #สุริยาเยาวสังข์ เป็นธุระจัดหาวีลแชร์ และข้าวของเครื่องใช้จำเป็นต่าง ๆ ให้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา

ท็อป บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้มอบหมายให้ #นุกูลฐิติวัฒน์ ผู้จัดการส่วนตัว ไปรับตัวมาอยู่ที่บ้านสุขสุดท้าย เรียบร้อย แฟนคลับสามารถไปเยี่ยม ไปให้กำลังใจกันได้ที่บ้านสุขสุดท้าย 14 หมู่ที่ 5 ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย นนทบุรี 11150 โทร.0816659479 #สื่อดีสังคมดีดาราภาพยนตร์

และแฟนเพจ ขอร่วมส่งกำลังใจค่ะ ธนิต พงษ์มนูญ ชื่อจริง ธนิต ปรุงแต่งชื่อเล่น ทุ้ง เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เป็นลูกคนเดียวของ คุณพ่อมนูญ กับ คุณแม่เกษมศรี ปรุงแต่ง เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนสัตย์สงวนวิทยา และมาจบ ม.ศ. 5 ที่โรงเรียนวัดราชานิวาส

เคยแสดงละครโรงเรียนตอนเรียนอยู่ ม.ศ. 3 ภายหลังได้มาอยู่กับ ฉลวย ศรีรัตนา ผู้กำกับดัง ได้ฝึกการแสดง จากนั้น ฉลวย พาไปฝากกับ เนรมิต ผู้กำกับระดับครูเพื่อแสดงเรื่อง จระเข้เถนขวาด เป็น “พลายชุมพล” โดยต้องไปฝึกเรียนยูโด้, คาราเต้, ฟันดาบ, กระบอง 2 ท่อน และ มีดสั้น ที่วายดับบลิวซีเอ

ในช่วงแรกคุณแม่ตั้งนามสกุลในการแสดงให้ว่า “นริศร” ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ ธนิต พงษ์มนูญ หนังเรื่องแรก จระเข้เถนขวาด (2525) ภายหลัง ธนิต แทบจะเหมาบทพระเอกในหนังผีเซ็กซี่ที่สร้างออกมามากมาย เช่น ผ่าโลง (2527), แหกค่ายโลกีย์ (2527), บ้านผีสาว (2533), ระฆังผี (2528), ยันต์สู้ผี (2527) ฯลฯ”