สามารถ พยัคฆ์อรุณ ตำนานยอดมวยไทย ขอลุยยกที่ 6 เมื่อต้องเปิดศึกขึ้นศาลยื่นอุทธรณ์ หลังมีคดีกับ ภรรยาเก่า เรื่องแบ่งมรดกทรัพย์สินจากสินสมรสวันที่ 26 ก.พ. 66 สามารถ ทิพย์ท่าไม้ (ภพธีรธรรม) หรือ “สามารถ พยัคฆ์อรุณ” อดีตนักมวยมากพรสวรรค์มีประเด็นอีกครั้ง กรณีรักร้าวยากคืนเรือน หลังจาก “น้องหญิง” น.ส.สมหญิง จุม
พิมาย หรือ วลัยทิพ ภพธีรธรรม ฝ่ายโจทก์ในฐานะอดีตภรรยายื่นฟ้องศาล กรณีทั้งคู่ตัดสินใจแยกทางกัน และมีการฟ้องร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อเรียกร้องทรัพย์สินแบ่งสิน สมรสมาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2560 เดิมที สามารถ และ น้องหญิง แต่งงานกันโดยปลูกบ้านขึ้น 2 หลังคู่กัน ย่านซอยสายไหม กรุงเทพฯ พร้อมสร้างค่ายมวยขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว ชื่อว่า “ค่ายภพธีรธรรม” และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมา
กระทั่งเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ศาลชั้นต้น (ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สาขามีนบุรี) พิพากษาให้ สามารถ และ น้องหญิง (ภรรยาเก่า) ร่วมกันแบ่งที่ดินในส่วนของค่ายมวย (ภพธีรธรรมเดิม) เนื้อที่ 1 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวคนละกึ่งหนึ่ง หากไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลขายกัน หรือถ้าตกลงไม่ได้ให้ขายทอดตลาด แล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่งส่วนเรื่องบ้านสองหลังซึ่งปลูกคู่กันในพื้นที่ค่ายมวยย่านซอยสายไหม ให้แบ่งกันคนละหลัง และสำหรับที่ดินที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งโจทก์ (หญิง) ซื้อมาระหว่างสมรส แล้วโอนใส่ชื่อมารดาของตัวนั้น ให้โอนร้อยละ 15 ของที่ดิน คืนแก่สามารถ หรือ ให้เป็นเงิน 204,000 บาท (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
ล่าสุดจากการเปิดเผยของ สามารถ แจ้งว่า ตนได้มอบหมายให้ทนายยื่นอุทธรณ์ต่อศาลมีนบุรี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมยินดีเปิดอกต่อสื่อมวลชนถึงกรณีต้องตกในฐานะจำเลย “จริงๆ แล้วหลังเกิดเรื่องขึ้นศาล มีสื่อมวลชนสอบถามมาเป็นจำนวนมาก และผมคิดว่าควรจะรอให้กระบวนการยุติธรรมสิ้นสุดจึงจะออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในมุมของผมบ้าง เพราะที่ผ่านมาสังคมรับรู้แต่เพียงเรื่องของเขา (น้องหญิง) ฝ่ายเดียว ซึ่งมันจะกระทบกับคนรอบข้างเยอะ””ทุกวันนี้ผมยังมีครอบครัว มีเพื่อนมีลูกศิษย์ฝึกสอนมวย มีสินค้าที่ผมรับเป็นพรีเซนเตอร์ให้ สำหรับตัวผมเองไม่ค่อยสนใจข่าวต่างๆ เท่าไร แต่พอทราบว่าข่าวที่ออกมาทำให้สังคมมองผมในแง่ไม่ดีเยอะมาก ทั้งที่ความจริงยังมีอีกหลายเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้”
“แม้ผมจะผ่านปัญหาแบบนี้มาเยอะแล้ว แต่ผมเป็นห่วงความรู้สึกของคนรอบข้างมากกว่า จึงคิดอยากจะออกมาชี้แจงความจริงในมุมของผมบ้าง ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกระจ่างโดยไม่ต้องคาดเดากันไปต่างๆ นานา ซึ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดแบบนี้ คงไม่เหมาะที่จะเชิญสื่อมวลชนมารับฟังข้อชี้แจง และผมเองไม่ปรารถนาจะเป็นข่าวใหญ่โต จึงขอวอนผ่านสื่อด้วยการนำเอกสารชี้แจงเหล่านี้มาเผยแพร่แทน”โดนฟ้องอะไรบ้าง ?
1. เรื่องแรก คือ เขาฟ้องผมให้แบ่งสินสมรส แต่เขาขอแบ่งที่ดิน 2 ไร่ ที่ผมใช้เงินส่วนตัวผมซื้อมาเองด้วย เขาอ้างว่าได้ร่วมซื้อที่ดินมากับผม
2. เรื่องที่สอง หลังจากเขาฟ้องผมเรื่องแรกแล้ว พ่อแม่เขาก็ฟ้องผมเข้ามาในคดีเรื่องเดียวกับเขา โดยฟ้องว่าที่ดิน 2 ไร่ที่ผมซื้อมาเป็นสินสอดที่ผมยกให้พ่อแม่เขา ที่ดินจึงเป็นของพ่อแม่เขา ผมก็เลยต้องต่อสู้คดีเรื่องที่ดินทั้งกับเขาและพ่อแม่เขาด้วย
3. เรื่องที่ผมฟ้องเขาเรื่องที่ดินที่ขอนแก่น เพราะว่าที่ดินแปลงนี้ผมให้เขาไปซื้อร่วมกับนักมวยในค่าย ตอนที่ยังอยู่กินกับเขา แต่ซื้อแค่ส่วนหนึ่งไม่ใช่ทั้งแปลงประมาณ 30 % แต่มันก็ต้องเป็นสินสมรส แต่ทำไมเขาไม่นำมาแบ่งให้ผมด้วย ผมมาทราบทีหลังว่าที่ดินที่ขอนแก่นไปเป็นชื่อแม่ของเขาแล้ว ผมจึงฟ้องให้เขาและแม่เขาโอนที่ดินกลับมาเป็นสินสมรสแล้วเอามาแบ่งกันคนละครึ่ง
ทำไมถึงไม่แบ่งสินสมรส ? ที่บอกว่าผมไม่ยอมแบ่งสินสมรส ไม่เป็นความจริงครับ สินสมรสยังไงก็ต้องแบ่งกัน แต่สิ่งที่เขาขอแบ่ง มันมีที่ดินส่วนตัวที่ผมเอาเงินผมไปซื้อไว้ก่อนจะอยู่กินกับเขาและก่อนจดทะเบียนสมรสกันรวมอยู่ด้วย ซึ่งผมไม่ ยอมให้แบ่งที่ดินเขาก็ไม่ยอม ทำให้ตกลงกันไม่ได้ เลยต้องขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม
ทำไมเขาถึงฟ้องว่าที่ดินเป็นของเขาด้วย ? เขาฟ้องผมว่า “เขาอยู่กินกับผมเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปี 2546 แล้วเขาก็ได้ร่วมซื้อที่ดินแปลงนี้มาด้วยกันกับผม เขาจึงมีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่ง ซึ่งความเป็นจริง ผมกับเขามาอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภรรยา น่าจะช่วงกลางๆ หรือปลายปี 2550 หลังจากผมซื้อที่ดินและปลูกบ้านเสร็จแล้ว
และช่วงปี 2546 ถึงช่วงกลางหรือปลายปี 2550 ผมยังอยู่กินกับแม่ของลูกที่บ้านลาดพร้าวอยู่เลย แล้วพอแม่ของลูกผมออกจากบ้านไป ผมก็อยู่กับลูกๆ หลานๆ พร้อมกับน้องชายและน้องสะใภ้ ผมให้น้องสะใภ้เป็นแม่บ้าน ดูแลเด็กๆ ดูแลบ้านให้ผม ตอนนั้นผมยังต้องนอนห้องเดียวกับลูกเลย เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะมาอยู่กินกับผมที่บ้านลาดพร้าวก่อนปี 2550